ด้วยสายตัวนำกันมากที่สุด เพราะมีต้นทุนในการเชื่อมโยงต่ำมากกว่า
เทคโนโลยีอื่น การเชื่อมโยงเครือข่ายสิ่งที่สำคัญคือความเร็วในการรับส่ง
ข้อมูล ซึ่งความเร็วนี้จะขึ้นอยู่กับคุณภาพของสายตัวนำที่ใช้ ในช่วงแรกๆ
การสื่อสารด้วยสายตัวนำจะมีการรับส่งข้อมูลในเครือข่ายขนาด 9,600 บิต
ต่อวินาที ต่อมามีการพัฒนาจนกระทั่งปัจจุบันสามารถส่งผ่านข้อมูลด้วย
ความเร็วสูงกว่า 100 เมกกะบิตต่อวินาที สายสื่อสารสำหรับเชื่อมต่อ
คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อย่างหนึ่งที่เข้ามามีบทบาทต่อการสร้างระบบ
เครือข่าย สายสื่อสารหรือสายสัญญาณที่ใช้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หรือ
อุปกรณ์เครือข่ายที่นิยมใช้มีหลายแบบ ดังนี้
สายเกลียวคู่ (Twisted pair Cable)
สายเกลียวคู่ เป็นสายที่มีราคาถูกที่สุด ประกอบด้วยสายทองแดง 2 เส้น แต่ละเส้นมีฉนวนหุ้มพันกันเป็นเกลียว สามารถลดการรบกวนจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้าได้ แต่ไม่สามารถป้องกันการสูญเสียพลังงานจากการแผ่รังสีความร้อน แบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้ 1. สายคู่บิดเกลียวชนิดไม่มีการกั้นสัญญาณรบกวน (Unshielded Twisted Pair : UTP) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ยูทีพี สายสัญญาณประเภทนี้เป็นสายคู่บิดเกลียวที่ใช้ในระบบโทรศัพท์ มีการปรับปรุงคุณสมบัติจนสามารถใช้กับสัญญาณความถี่สูงได้ สายยูทีพีใช้ลวดทองแดง 8 เส้น ขณะที่ในระบบโทรศัพท์จะใช้เพียง 2 หรือ 4 เส้น ซึ่งต่อเข้ากับหัวต่อแบบ RJ45 ซึ่งเป็นหัวต่อที่มีลักษณะคล้ายกับหัวต่อของโทรศัพท์ แต่โทรศัพท์จะเรียก RJ11 การที่มีสายทองแดงไว้หลายเส้นก็เพื่อให้หัวต่อ RJ45 ใช้งานได้ในหลายๆ รูปแบบ เช่น
- ใช้สายทองแดงตั้งแต่ 3-8 เส้น เป็นสายสัญญาณ 10 เมกะบิตของอีเธอร์เน็ตแบบ 10BASE-T
- ใช้สายทองแดง 4 เส้น เป็นสายสัญญาณ 100 เมกะบิตของอีเธอร์เน็ตแบบ 100BASE-T
- ใช้สายทองแดง 8 เส้น เป็นสายสัญญาณของเสียง
- ใช้สายทองแดง 2 เส้น สำหรับระบบโทรศัพท์
2. สายคู่บิดเกลียวชนิดมีการกั้นสัญญาณรบกวน (Shielded Twisted Pair : STP) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เอสทีพี เป็นสายคู่บิดเกลียวที่หุ้มด้วยตัวกั้นสัญญาณเพื่อป้องกันการรบกวน เอสทีพีใช้ความถี่สูงกว่ายูทีพี แต่มีราคาแพงกว่า
สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable) สายเคเบิลแบบโคแอกเชียล ส่วนของสายส่งข้อมูลจะอยู่ตรงกลางเป็นลวดทองแดงมีชั้นของตัวเหนี่ยวนำหุ้มอยู่ 2 ชั้น ชั้นในเป็นฟั่นเกลียวหรือชั้นแข็ง ชั้นนอกเป็นฟั่นเกลียว และคั่นระหว่างชั้นด้วยฉนวนหนา เปลือกชั้นนอกสุดเป็นฉนวน สายโคแอกสามารถม้วนโค้งงอได้ง่าย มี 2 แบบ คือ 75 โอมห์ และ 50 โอมห์ ขนาดของสายมีตั้งแต่ 0.4 - 1.0 นิ้ว ชั้นตัวเหนี่ยวนำทำหน้าที่ป้องกันการสูญเสียพลังงานจากแผ่รังสี เปลือกฉนวนหนาทำให้สายมีความคงทนสามารถฝังเดินสายใต้พื้นดินได้
เส้นใยแก้วนำแสง หรือ ไฟเบอร์ออฟติกส์ (Fiber Optic Cable)
การสื่อสารในสายไฟเบอร์ออปติกคือการเปลี่ยนสัญญาณ (ข้อมูล)ไฟฟ้าให้เป็นคลื่นแสงส่งผ่านสายไฟเบอร์ออปติก สายไฟเบอร์ออปติกทำจากแก้วหรือพลาสติกสามารถส่งลำแสงผ่านสายได้ทีละหลาย ๆ ลำแสงด้วยมุมที่ต่างกัน ลำแสงที่ส่งออกไปจะสะท้อนกลับไปมาที่ผิวของสายชั้นในจนถึงปลายทาง สายไฟเบอร์ออปติกมีอัตราเร็วในการส่งข้อมูลได้สูงมาก
ความผิดพลาดในการส่งข้อมูลผ่านสายไฟเบอร์ออปติกนั้นมีน้อยมาก คือประมาณ 1 ใน 10 ล้านบิตต่อการส่ง 1,000 ครั้ง เท่านั้น ทั้งยังป้องกันการรบกวนจากสัญญาณภายนอกได้โดยสิ้นเชิง แม้ว่าการส่งข้อมูลผ่านทางสายไฟเบอร์ออปติก จะทำได้อย่างมีประสิทธิภาพยอดเยี่ยม และจำนวนมหาศาล แต่ราคาสายไฟเบอร์ออปติกและอุปกรณ์ประกอบสำหรับการเปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นคลื่นแสง และจากคลื่นแสงกลับมาเป็นสัญญาณไฟฟ้า เครื่องทบทวนสัญญาณ มีราคาสูงกว่าการส่งสัญญาณผ่านสายสัญญาณแบบอื่น สายไฟเบอร์ออปติกมีความแข็งแต่เปราะจึงยากต่อการเดินสายไฟตามที่ต่าง ๆ ได้ตามที่ต้องการ อีกทั้งการเชื่อมต่อระหว่างสายก็ทำได้ยากมาก เพราะต้องระวังไม่ได้เกิดการหักเห
การสื่อสารในสายไฟเบอร์ออปติกคือการเปลี่ยนสัญญาณ (ข้อมูล)ไฟฟ้าให้เป็นคลื่นแสงส่งผ่านสายไฟเบอร์ออปติก สายไฟเบอร์ออปติกทำจากแก้วหรือพลาสติกสามารถส่งลำแสงผ่านสายได้ทีละหลาย ๆ ลำแสงด้วยมุมที่ต่างกัน ลำแสงที่ส่งออกไปจะสะท้อนกลับไปมาที่ผิวของสายชั้นในจนถึงปลายทาง สายไฟเบอร์ออปติกมีอัตราเร็วในการส่งข้อมูลได้สูงมาก
ความผิดพลาดในการส่งข้อมูลผ่านสายไฟเบอร์ออปติกนั้นมีน้อยมาก คือประมาณ 1 ใน 10 ล้านบิตต่อการส่ง 1,000 ครั้ง เท่านั้น ทั้งยังป้องกันการรบกวนจากสัญญาณภายนอกได้โดยสิ้นเชิง แม้ว่าการส่งข้อมูลผ่านทางสายไฟเบอร์ออปติก จะทำได้อย่างมีประสิทธิภาพยอดเยี่ยม และจำนวนมหาศาล แต่ราคาสายไฟเบอร์ออปติกและอุปกรณ์ประกอบสำหรับการเปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นคลื่นแสง และจากคลื่นแสงกลับมาเป็นสัญญาณไฟฟ้า เครื่องทบทวนสัญญาณ มีราคาสูงกว่าการส่งสัญญาณผ่านสายสัญญาณแบบอื่น สายไฟเบอร์ออปติกมีความแข็งแต่เปราะจึงยากต่อการเดินสายไฟตามที่ต่าง ๆ ได้ตามที่ต้องการ อีกทั้งการเชื่อมต่อระหว่างสายก็ทำได้ยากมาก เพราะต้องระวังไม่ได้เกิดการหักเห
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น